วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2559

การทดลองที่ 4 การทดสอบกำลังรับแรงดึงของเหล็กเส้น

การทดสอบแรงดึงของเหล็กเส้น

บทนำ
          คุณสมบัติในการรับแรงดึงของเหล็กเส้นที่ใช้ในคอนกรีตเสริมเหล็ก จัดเป็นคุณสมบัติทางกลที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากว่าเหล็กเส้นที่ใช้ในโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กส่วนใหญ่จะทำหน้าที่รับแรงดึงถึงแม้ว่าบางครั้งอาจจะใช้รับแรงอัดก็ตาม แต่ถือว่าคุณสมบัติในการรับแรงดึงและแรงอัดมีค่าเป็นอย่างเดียวกันหากไม่เกิดการโก่งเดาะขี้น ดังนั้นจึงทดสอบเฉพาะคุณสมบัติในการรับแรงดึงเท่านั้น
          เหล็กเสริมที่ใช้ในงานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กมี 2 ประเภท ได้แก่ เหล็กเส้นกลมและเหล็กข้ออ้อย ซึ่งเป็นเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำหรือเหล็กกล้าละมุน ซึ่งคุณสมบัติรับแรงดึงของเหล็กเสริมถูกนำมาใช้ในการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก เช่น พื้น บันได คาน เพื่อให้ได้คุณสมบัติต้านทานการรับแรงดึงของเหล็กเสริมตามที่ออกแบบในการก่อสร้างต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพและทางกลของเหล็กเสริมที่จะนำมาใช้งาน






4.1   มาตรฐานการทดสอบการรับแรงดึงของเหล็กเส้น
   1.       มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต
-       มอก 20-2543 มาตรฐานเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต (เหล็กเส้นกลม)
-       มอก 24-2536 มาตรฐานเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต (เหล็กข้ออ้อย)
   2.       มาตรฐานงานเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต (มยธ.103-2533)
   3.       ASTM A615 M-79 Deformed and Plain Billet-Steel Bars for Concrete Reinforcement (Metric)
   4.       BS 4449: 1969 Hot Roiled steel bars for the reinforcement of concrete
   5.       JIS G3112-1975 Steel bars for concrete reinforcement
   6.       AASHTO (American Association for State Highway and Transportation Officials)

4.2 ข้อกำหนดคุณสมบัติของเหล็กเส้นตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ของเหล็กเส้น
ตารางที่ 4.1 คุณสมบัติทางกลของเหล็กเส้น


ตารางที่ 4.2 ค่าความคลาดเคลื่อนของมวลเหล็กที่ยอมให้ของเหล็กกลม (round bar)

4.3 อุปกรณ์สำหรับการทดสอบ
   1.       เครื่องทดสอบแรงดึง (Universal testing machine) พร้อมอุปกรณ์
   2.       เครื่องวัดการยืดตัว (Extensometer)
   3.       เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์ที่มีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน +0.05 mm มีความละเอียดในการวัด 0.1 mm
   4.       ตลับเมตรที่มีความยาวเพียงพอที่จะวัดความยาวโดยตลอดของเหล็ก
   5.       ตาชั่งที่มีความละเอียด 0.1 กรัม
   6.       เหล็กสกัด
   7.       ค้อน

4.4 จุดประสงค์การทดสอบ
          เพื่อทดสอบหาคุณสมบัติในการรับแรงดึงของเหล็กเส้น
1.       กำลัง (Strength)
·     หน่วยแรงที่พิกัดยืดหยุ่น (Proportional limit)
·     หน่วยแรงที่จุดคราก (Yield strength)
·     หน่วยแรงประลัย (Ultimate strength)
2.       ความเหนียว (Ductility)
·     ร้อยละการยืดในช่วง 5 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง (Elongation)
3.       โมดูลัสยืดหยุ่น (Modulus of elasticity)

4.5 การเตรียมตัวอย่างทดสอบ
          การเตรียมตัวอย่างทดสอบแรงดึงเหล็ก มีลำดับขั้นตอนดังนี้
          4.5.1 ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต: เหล็กเส้นกลม มอก 20-2543 ได้กำหนดการเตรียมตัวอย่างทดสอบเหล็กเส้นกลม ดังนี้
·       เหล็กเส้นกลมตั้งแต่ 15 mm ลงมาให้ทดสอบโดยไม่ต้องกลึงชิ้นทดสอบให้เล็กลง
·       เหล็กเส้นกลมตั้งแต่ 19 mm ขึ้นไป อาจกลึงลดขนาดให้พอเหมาะที่จะใช้กับเครื่องทดสอบแรงดึงได้    แต่เส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 15 mm ความยาวของส่วนที่กลึงต้องไม่น้อยกว่า 5.5 เท่าของขนาด  เส้นผ่านศูนย์กลางส่วนที่กลึง
4.5.2 ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต : เหล็กข้ออ้อย มอก 24-2548 ได้กำหนดการเตรียมตัวอย่างทดสอบดังนี้
·       เหล็กข้ออ้อยตั้งแต่ 16 mm ลงมาให้ทดสอบโดยไม่ต้องกลึงชิ้นทดสอบให้เล็กลง
·      เหล็กข้ออ้อยตั้งแต่ 20 mm ขึ้นไปอาจกลึงลดขนาดให้พอเหมาะที่จะใช้กับเครื่องทดสอบแรงดึงได้ แต่  เส้นผ่านศูนย์กลางต้องไม่น้อยกว่า 16 mm ความยาวของส่วนที่กลึงต้องไม่น้อยกว่า 5.5 เท่าของ  ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางส่วนที่กลึง


รูปที่ 4.1 ตัวอย่างเหล็กข้ออ้อยที่ผ่านการกลึง

           4.5.3 ความยาวพิกัด (Gauge length, G) กำหนดให้มีค่าเท่ากับ 5 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลาง (5D เมื่อ D เป็นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง) ความยาวระหว่างหัวจับคือระยะ P โดยปกติจะต้องมีความยาวไม่น้อยกว่า 5.5D

4.6 วิธีการทดสอบ
 1.       วัดความยาวของเหล็กเสริมด้วยตลับเมตรให้ละเอียดถึง 1 มิลลิเมตร
 2.       ชั่งน้ำหนักเหล็กเสริมให้ละเอียดถึง 1 กรัม
 3.       กำหนดความยาวพิกัดของเหล็กเสริม เท่ากับ 5D โดยใช้เหล็กสกัดตอกแสดงจุดไว้ ดังแสดงในรูปที่ 4.2 จากนั้นกำหนดระยะหัวจับ อย่างน้อย 5.5D
 4.       นำเหล็กทดสอบใส่ในเครื่องทดสอบแล้วยึดเหล็กเสริมด้วยอุปกรณ์สำหรับจับชิ้นให้แน่น โดยให้ตำแหน่งของความยาวพิกัดอยู่ที่กึ่งกลางระหว่างอุปกรณ์ดังรูปที่ 4.3



รูปที่ 4.2 การกำหนดความยาวพิกัด (Gauge length)


รูปที่ 4.3 การจัดตำแหน่งความยาวพิกัดของเหล็กเสริมกึ่งกลางอุปกรณ์ยึดจับ

             1.       ติดตั้ง extensometer เพื่อวัดการยืดตัวของเหล็กเสริม
             2.       ควบคุมอัตราการเพิ่มของแรงดึงประมาณ 300 ksc/วินาที พร้อมทั้งบันทึกการยืดตัวของเหล็กเสริมทุกๆแรงดึง 250 กิโลกรัม หรืออาจใช้การแบ่งค่าเองให้ได้               ประมาณ 15-20 ค่าในช่วงพิกัดยืดหยุ่นของเหล็กเสริม
             3.       ดำเนินการทดสอบจนกระทั่งเหล็กเสริมขาด
             4.       ถอดชิ้นทดสอบออกจากเครื่องทดสอบแล้วสเก็ตซ์รูปลักษณะความเสียหายของชิ้นทดสอบ
             5.       นำชิ้นทดสอบที่ขาด 2 ท่อนมาต่อกันให้เหมือนเดิม วัดระยะความยาวพิกัดด้วยเวอร์เนียร์ เพื่อคำนวณค่ายืดตัวทั้งหมดดังรูปที่ 4.4

               11.       สร้างกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงดึงกับระยะการยืดตัว
        12.       สร้างกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียด ตัวอย่างดังแสดงในรูปที่ 4.5


รูปที่ 4.5 ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นและความเครียดของเหล็กเสริม (ที่มา : www.learneasy.info )

ตารางบันทึกผลการทดสอบ


ภาพสเก็ตซ์ความเสียหายของชิ้นทดสอบ
ตัวอย่างที่ 1                                            ตัวอย่างที่ 2

4.7 การคำนวณผลการทดสอบ
          การทดสอบแรงดึงเหล็กเพื่อพิจารณาความสามารถในคุณสมบัติทางกายภาพและทางกลของเหล็กเสริม โดยนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบคำนวณค่ามวลระบุ ร้อยละความคลาดเคลื่อนของมวลต่อเมตร ร้อยละความยืด โมดูลัสยืดหยุ่น หน่วยแรงดึง สามารถคำนวณได้ดังนี้








  4.8 สรุปผลและวิเคราะห์ผลการทดลอง

  ให้นิสิตสรุปผลในประเด็นที่แสดงด้านล่าง โดยทำการเปรียบเทียบกับข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์        อุตสาหกรรม

  4.8.1ความคลาดเคลื่อนของมวลต่อเมตร...
  -
  4.8.2 กำลังและการยืดตัวของเหล็กเส้น...
  -
  4.8.3 ผลกระทบถ้านิสิตนำเหล็กดังกล่าวไปใช้ในงานจริง...
  -


      วีดีโอสอนทำทดลอง



7 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณครับ ได้ความรู้ดีๆครับ

    ตอบลบ
  2. กรณีชุดตัวอย่างที่มาทดสอบ 3 ท่อน มีท่อนใดท่อนหนึ่งไม่ได้ตามเกณฑ์ จะพิจารณาอน่างไรครับ

    ตอบลบ
  3. ขอเรียนสอบถามหน่อยครับ อย่าง SD40 ต้านทานแรงดึงที่จุดคราก 4000 ksc.คือเหล็กที่ดึงต้องขาดไหมครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขออนุญาตตอบนะครับ ดึงด้วยแรงนี้เหล็กตัวอย่างยังไม่ขาดครับ แต่ตัวอย่างจะเกิดการเปลี่ยนรูปคือขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางจะขอดลงเรื่อยๆ ค่านี้แหล่ะครับต้องนำเอามาคิดเรื่องเปอร์เซนต์ elong ด้วยว่าเกินมาตรฐานหรือไม่ ส่วนเรื่องเหล็กตัวอย่างที่ดึงหลังจากที่ผ่านกำลัง 4000ksc ไปแล้วก็จะยังคงรับแรงในการดึงได้ไปอีกสักระยะ จนถึงจุดๆหนึ่งที่กำลังเกือบ 6000 เหล็กตัวอย่างก็จะขาดครับ

      ลบ