วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

การทดลองที่ 6 การทดสอบแบบไม่ทำลาย

การทดสอบแบบไม่ทำลาย
ทฤษฎี

6.1 หลักการพื้นฐานของการทดสอบแบบไม่ทำลาย

1.       วิธีการทดสอบโดยไม่ทำลายส่วนใหญ่เป็นการทดสอบอาศัยการประเมินจากผลการวัดค่าสมบัติต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับสมบัติของโครงสร้าง หรือมีความเกี่ยวข้องกับกลไกของการเสื่อมสภาพแบบต่าง ๆ ซึ่งเป็นวิธีการประเมินโดยอ้อมเป็นส่วนใหญ่ หัวใจของการทดสอบแบบไม่ทำลายคือ การเก็บข้อมูลประเมินภาพของโครงสร้างให้เพียงพอโดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับโครงสร้างในระดับที่มากเกินไป วิธีการตรวจสอบโดยไม่ทำลายบางชนิดอาจต้องเจาะรูขนาดเล็กในโครงสร้างคอนกรีต หรืออาจทำให้โครงสร้างคอนกรีตเสียหายในระดับหนึ่ง




                1.       การตรวจสอบด้วยเทคนิคการทดสอบโดยไม่ทำลายสามารถประยุกต์ใช้ในกรณีดังต่อไปนี้
         ก.       การตรวจสอบคุณภาพของงานก่อสร้างใหม่
         ข.       การแก้ปัญหางานก่อสร้างในระหว่างการก่อสร้าง
         ค.       การตรวจสอบสภาพของโครงสร้างเก่าเพื่อการวางแผนบำรุงรักษา
         ง.        การประเมินคุณภาพของงานซ่อมแซม
2.     การเลือกวิธีการทดสอบแบบไม่ทำลายที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับข้อมูลสมบัติของโครงสร้างที่ต้องการทำการตรวจสอบ โดยตารางที่ 6.1 แสดงรายการวิธีการทดสอบแบบไม่ทำลายสำหรับโครงสร้างคอนกรีตรวมทั้งการตรวจพินิจตามมาตรฐานอ้างอิงของกรมโยธาธิการ

ตารางที่ 6.1 รายการวิธีการทดสอบแบบไม่ทำลาย

สำหรับบทเรียนนี้จะทำการศึกษาการทดสอบแบบไม่ทำลายโดยใช้วิธีหาค่าความแข็งแรงของคอนกรีตด้วยค้อนกระแทก (Rebound hammer) 

6.2 นิยามศัพท์
          ค้อนกระแทก     หมายถึง เครื่องมือสำหรับการทดสอบความแข็งของผิวโดยอาศัยหลักการของการสะท้อนกลับของพลังงานที่แตกต่างกันของวัถตุที่มีของแข็งของผิวต่างกัน
          ค้อนกระแทกแบบสมิดท์ (Schmidt’s hammer) หมายถึง ค้อนกระแทกที่มีกลไกการส่งพลังงานโดยการใช้พลังงานศักย์ของสปริงเป็นหลัก
          ค่าการสะท้อน    หมายถึง ค่าแสดงระดับของการสะท้อนของก้อนเหล็กในค้อนกระแทก สามารถอ่านได้จากมาตรวัดของค้อนกระแทก
          ก้อนหินขัด       หมายถึง เป็นก้อนหินที่มีผิวหยาบและมีส่วนผสมของซิลิคอนคาร์ไบด์ หรือวัสดุเทียบเท่าอื่น ๆ ใช้ในการเตรียมผิวโครงสร้างคอนกรีตที่ต้องการทำการวัดค่าการสะท้อน
          ความแข็งของผิว (Surface hardness) หมายถึงความสามารถของผิววัตถุในการทนแรงกระแทก
          กำลังอัด (compresiove strength) หมายถึงค่าหน่วยแรงสูงสุดที่วัตถุสามารถรับได้ในสภาวะถูกอัด

6.3 อุปกรณ์และส่วนประกอบของค้อนกระแทก
          1.ค้อนกระแทกแบบสมิดท์ มีส่วนประกอบหลัก คือ ตัวค้อนภายนอก (Body) แท่งเหล็ก (Plunger) ก้อนเหล็ก (Hammer) สริง (Spring) สลัก (Latch) และช่องสไลด์ที่ใช้วัดระยะสะท้อนของก้อนเหล็ก (Indicator) ระยะสะท้อนของค้อนกระแทกวัดได้จากมาตราส่วนซึ่งติดกับค้อนโดยมีค่าตั้งแต่ 10 ถึง 100 เรียกว่า ค่าการสะท้อน (Rebound number) รูปที่ 6.1 แสดงตัวอย่างส่วนประกอบของค้อนกระแทกแบบสมิดท์ (Schmidt’s rebound hammer ค้อนกระแทกแบบสมิดท์ คิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1948 โดยวิศวกรชาวสวิส ชื่อ เอิร์น สมิดท์ ค้อนกระแทก (rebound hammer) เป็นเครื่องมือทดสอบคอนกรีตแบบไม่ทำลายซึ่งเป็นที่นิยมในการวัดกำลังอัดของคอนกรีต เนื่องจากความรวดเร็วในการทดสอบ และราคาที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับการเจาะเก็บตัวอย่างทดสอบเพื่อทำการทดสอบ ค้อนกระแทกเป็นเครื่องวัดความแข็งของผิวคอนกรีต ค่ากำลังอัดที่ได้แปลงมาจากค่าความแข็งของผิวคอนกรีตซึ่งได้จากความสัมพันธ์ที่ทดสอบในห้องปฏิบัติการ ในปัจจุบันค้อนกระแทกที่ได้รับความนิยมกว้างขวางที่สุด คือ ค้อนกระแทกแบบสมิดท์


รูปที่ 6.1 ตัวอย่างส่วนประกอบของค้อนกระแทกแบบสมิดท์ (schmidt’s rebound hammer)

           1.       ก้อนหินขัด (Abrasive stone) เป็นก้อนหินที่มีผิวหยาบและมีส่วนผสมของซิลิคอนคาร์ไบด์ หรือวัสดุเทียบเท่าอื่นๆ
           2.       ทั่งทดสอบ (Test anvil) เป็นก้อนเหล็กทรงกระบอกที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 150 มิลลิเมตร มีความแข็งของจุดรับการกระแทกเท่ากับ Brinell                500 หรือ Rockwell 52C และมีอุปกรณ์ที่ช่วยให้ค้อนกระแทกตั้งฉากกับจุดกระแทกขณะทดสอบ

 6.4 วิธีการใช้งานค้อนกระแทก

   1.       ก่อนการทดสอบ ผู้ทดสอบต้องปลดแท่งเหล็กให้หลุดจากตัวล๊อค ด้วยการกดค้อนกระแทกที่คอนกรีต และค่อย ๆ ผ่อนออก แท่งเหล็กจะยื่นออกมาจากตัวค้อน สลักจะยึดก้อนเหล็กให้อยู่ติดกับแท่งเหล็ก
   2.       ระหว่างการทดสอบให้ตั้งตัวค้อนตั้งฉากกับผิวคอนกรีตแล้วค่อย ๆ กดค้อนกระแทกเข้าหาผิวคอนกรีต เมื่อค้อนกระแทกถูกกดเข้าหาผิวคอนกรีต สปริงที่ยึดระหว่างตัวค้อนและก้อนเหล็กจะยืดตัวออก และเมื่อค้อนกระแทกถูกกดจนถึงระดับหนึ่ง ตัวสลักจะปล่อยก้อนเหล็กโดยอัตโนมัติ และก้อนเหล็กจะเคลื่อนเข้ากระแทกแท่งเหล็กและสะท้อนกลับ
   3.       ในระหว่างที่แท่งเหล็กสะท้อน ตัวอ่านค่าจะเคลื่อนที่ไปกับก้อนเหล็กและค้างอยู่ที่ระยะมากที่สุดที่ก้อนเหล็กสะท้อน และอ่านค่าการสะท้อนได้จากมาตรวัดที่ติดอยู่กับตัวค้อน
   4.       ค้อนกระแทกสามารถทดสอบได้ทั้งทิศแนวนอน แนวตั้ง หรือแนวเฉียง อย่างไรก็ตามทิศทางของการทดสอบมีผลต่อแรงโน้มถ่วงที่กระทำต่อก้อนเหล็ก ดังนั้นการทดสอบในทิศทางแตกต่างกันจะให้ผลการทดสอบแตกต่างกัน สำหรับคอนกรีตชนิดเดียวกัน และต้องปรับให้ถูกต้องด้วยการคูณค่าสัมประสิทธิ์หรืออ่านค่าจากตารางของแต่ละทิศทาง
   5.       โดยทั่วไปตารางหรือกราฟความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดและค่าการสะท้อน (rebound number) จะเป็นไปตามผลการทดสอบของผู้ผลิตค้อนกระแทก อย่างไรก็ตามค่ากำลังอัดที่ได้จากกราฟอาจมีความคลาดเคลื่อนได้ ทั้งนี้เนื่องจากคุณสมบัติของวัสดุ เช่น มวลรวมในโครงสร้างที่ตรวจสอบ และคอนกรีตที่ผู้ผลิตค้อนกระแทกทดสอบในห้องปฏิบัติการแตกต่างกัน ดังนั้นการสร้างกราฟความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดและค่าการสะท้อนของคอนกรีตที่ใช้วัสดุประเภทเดียวกับคอนกรีตที่ทำการทดสอบในโครงสร้าง จะช่วยให้การประเมินผลการตรวจสอบเป็นไปด้วยความแม่นยำกว่า โดยมีรายละเอียดขั้นตอนการสร้างกราฟความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดและค่าการสะท้อน (rebound number) ดังต่อไปนี้
ก.     เตรียมตัวอย่างทดสอบคอนกรีตทรงกระบอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 150 มิลลิเมตร และสูง 300 มิลลิเมตร โดยเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผสมให้มีช่วงครอบคลุมกำลังอัดของคอนกรีตในโครงสร้างที่ตรวจสอบ โดยมีจำนวนตัวอย่างทดสอบอย่างน้อย 3 ตัวอย่างสำหรับแต่ละช่วงกำลังอัดของคอนกรีต
ข.     หลังจากการเตรียมผิวให้เรียบ (capping) นำตัวอย่างทดสอบทรงกระบอกเข้าเครื่องทดสอบกำลังอัดคอนกรีต และเพิ่มแรงกดตัวอย่างทดสอบให้มีค่าประมาณร้อยละ 15 ของกำลังอัดประลัย เพื่อยึดรั้งตัวอย่างทดสอบให้อยู่นิ่ง ตัวอย่างทดสอบต้องอยู่ในสภาพอิ่มตัวผิวแห้งในขณะทดสอบ
ค.     วัดค่าการสะท้อน 15 ครั้ง โดยแบ่งตำแหน่งทดสอบเป็นแนวตั้ง 3 แนว และทดสอบ 5 ครั้งต่อแนวโดยแต่ละแนวให้ห่างกันเป็นมุม 120 องศา ตำแหน่งการกดควรอยู่ในระยะ 200 มิลลิเมตร บริเวณช่วงกลางของตัวอย่างทดสอบ หรือประมาณ 2 ใน 3 ของความสูงของแท่งตัวอย่างทดสอบ และต้องไม่ทดสอบซ้ำตำแหน่งเดียวกัน
ง.     เฉลี่ยค่าการสะท้อนที่ได้ และค่าเฉลี่ยจะเป็นค่าการสะท้อนของตัวอย่างทดสอบ
จ.     ให้ดำเนินการขั้นตอน ก-ง กับตัวอย่างทดสอบอื่น
ฉ.     ทดสอบกำลังอัดของแท่งคอนกรีต และบันทึกผลลัพธ์ที่ได้จากการทดสอบลงในกราฟ
ช.     วิเคราะห์ผลและสร้างเส้นความสัมพันธ์ระหว่าง ค่าการสะท้อนและกำลังอัดของคอนกรีตด้วยวิธีการทางสถิติ เช่น วิธีกำลังสองน้อยสุด (Least square technique) เป็นต้น
ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดของคอนกรีตและค่าการสะท้อนที่วัดได้จากตัวอย่างคอนกรีตจำนวน 15 ตัวอย่างในห้องปฏิบัติการ ตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในข้อที่ 5 โดยตัวอย่างทดสอบครอบคลุมกำลังอัดตั้งแต่ 200 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ถึง 600 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร โดยมีการสร้างสมการความสัมพันธ์ระหว่างค่ากำลังอัดและค่าการสะท้อนออกมาเป็นความสัมพันธ์เชิงเส้น ดังแสดงในรูปที่ 6.2


รูปที่ 6.2 ตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสะท้อนและกำลังอัดของคอนกรีตที่ได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ

6.5 ขั้นตอนการประเมินกำลังอัดของคอนกรีตด้วยการใช้ค้อนกระแทก

    1.ทำการกำหนดตำแหน่งที่จะทำการวัดค่าการสะท้อน โดยควรเป็นบริเวณผิวคอนกรีตที่ไม่มีรอยแตกร้าวหรือการกะเทาะออกของผิวคอนกรีต และทำการขัดผิวคอนกรีตให้เรียบร้อยด้วยก้อนหินขัด
ในกรณีที่โครงสร้างมีชั้นปูนฉาบให้ทำการสกับชั้นปูนฉาบออกก่อนทำการขัดผิวคอนกรีตให้เรียบด้วยหินขัด
    2. ตรวจสอบแท่งเหล็กของค้อนกระแทกให้ยื่นในลักษณะพร้อมทดสอบ
    3. จับค้อนกระแทกอย่างมั่นคงให้แกนของค้อนกระแทกตั้งฉากกับผิวคอนกรีต
    4. ค่อย ๆ กดค้อนกระแทกเข้าหาผิวคอนกรีต จนกระทั่งมีการสะท้อนของก้อนเหล็กภายในค้อนกระแทกแท่งเหล็กจะถูกล็อคโดยอัตโนมัติ
    5.อ่านค่าการสะท้อน (rebound number) จากมาตรวัดของค้อนกระแทก โดยให้อ่านค่าจำนวนเต็มที่ใกล้เคียงมากที่สุด
    6.สำรวจดูความเสียหายของผิวคอนกรีตอันเนื่องมาจากการกระแทกของค้อนกระแทก กรณีพบความเสียหายอันเชื่อได้ว่ามาจากข้อบกพร่องของคอนกรีต ณ บริเวณที่ทดสอบ เช่นฟองอากาศขนาดใหญ่ เป็นต้น ให้บันทึกรายละเอียดเพิ่มเติม หรือยกเลิกการใช้ค่าการสะท้อนที่วัดได้ ณ ตำแหน่งนี้
    7. บันทึกค่าการกระแทกที่วัดได้ และทดสอบจุดต่อไปโดยให้มีระยะห่างระหว่างจุดที่ทดสอบไม่น้อยกว่า 25 มิลลิเมตร

6.6 ปัจจัยที่มีผลต่อการทดสอบและข้อควรระวัง

            การทดสอบคอนกรีตด้วยค้อนกระแทก เป็นวิธีการที่รวดเร็วและสะดวกในการทดสอบวัดกำลังอัดของคอนกรีต อย่างไรก็ตามวิธีการนี้มีข้อจำกัด และมีผลกระทบจากตัวแปรหลายประการซึ่งผู้ดำเนินการตรวจสอบจำเป็นต้องคำนึงถึง ได้แก่ความขรุขระของผิวโครงสร้าง ขนาดและความแข็งแกร็งของโครงสร้าง (Rigidity) อายุของตัวอย่างทดสอบ ประเภทของมวลรวม ประเภทของซีเมนต์ และคาร์บอเนชั่นของผิวคอนกรีต (carbonation)
   1.       ลักษณะของผิวคอนกรีต มีผลต่อการสะท้อนของคอนกรีต จึงกระทบโดยตรงต่อผลการทดสอบคอนกรีตด้วยค้อนกระแทก กรณีผิวคอนกรีตขรุขระมากแท่งเหล็กของค้อนกระแทกอาจกระแทกและทำให้ผิวคอนกรีตแตก ค่าการสะท้อนที่ได้จึงมีค่าน้อยกว่าความเป็นจริง ดังนั้นก่อนการทดสอบผิวโครงสร้างคอนกรีตที่มีความขรุขระควรขัดให้เรียบด้วยก้อนหินขัด
   2.       ขนาดของโครงสร้างที่ทดสอบ รวมถึงความแข็งแรง เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการวัดค่าการสะท้อน กรณีโครงสร้างที่ตรวจสอบมีขนาดเล็ก การเคลื่อนที่ของโครงสร้างระหว่างการกระแทกจะทำให้ค่าการสะท้อนที่วัดได้นั้นมีค่าน้อยลงกว่าความเป็นจริง ระหว่างการตรวจสอบอาจจำเป็นต้องถ่วงหรือยึดโครงสร้างดังกล่าวให้มีความแข็งเกร็งมากขึ้น
   3.       เนื่องจากวิธีการทดสอบด้วยค้อนกระแทกเป็นวิธีการวัดความแข็งของผิวคอนกรีต จึงไม่เหมาะสำหรับการวัดคอนกรีตที่มีอายุน้อยมากๆ ซึ่งยังไม่มีความแข็งเพียงพอ นอกจากนี้การใช้กราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสะท้อน และกำลังอัดที่อายุ 28 วัน นั้นอาจจะไม่เหมาะกับการตรวจสอบโครงสร้างที่มีอายุมาก ๆ และควรมีการสร้างกราฟความสัมพันธ์ระหว่างค่าการสะท้อนที่ได้จากโครงสร้างและค่ากำลังอัดที่ได้จากการเจาะเก็บตัวอย่างจากโครงสร้างในกรณีดังกล่าว
   4.       ประเภทของมวลรวม และปูนซีเมนต์ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการทดสอบโครงสร้างคอนกรีตด้วยค้อนกระแทก โดยทั่วไปแล้วค่าการสะท้อน (Rebound number) ของคอนกรีตที่มีมวลรวมเป็นหินปูน (Limestone) กับคอนกรีตธรรมดา นอกจากนี้การใช้หินชนิดเดียวกันจากคนละแหล่งอาจส่งผลให้ค่ารสะท้อนของคอนกรีตที่มีค่ากำลังอัดเท่ากันมีค่าแตกต่างกันได้
   5.       ประเภทของปูนซีเมนต์ที่ใช้อาจส่งผลต่อค่าการสะท้อนที่วัดได้  โดยปูนซีเมนต์ที่มีปริมาณอลูมินาสูงนั้น อาจมีกำลังอัดที่แท้จริงมากกว่าค่าที่แปรผลจากกราฟความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดและค่าการสะท้อน (Rebound number) ที่ได้จากการทดสอบคอนกรีตที่ใช้ปูนซีเมนต์ประเภทที่ 1 ดังนั้นจึงควรมีการสร้างกราฟความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดและค่าการสะท้อน (rebound number) สำหรับประเภทปูนซีเมนต์ที่ใช้เพื่อการประเมินกำลังอัดที่มีความแม่นยำและน่าเชื่อถือ
การเกิดปฏิกิริยาคาร์บอเนชั่นในคอนกรีตมีผลกระทบต่อค่าการสะท้อนอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงสร้างที่อยู่ในเขตการจราจรหนาแน่นและมีอายุการใช้งานมานาน อาจมีความลึกของชั้นที่เกิดคาร์บอเนชั่นในคอนกรีตไม่น้อยกว่า 20 มิลลิเมตร ค่าการสะท้อนที่ได้นั้นอาจจะมีค่ามากเกินจริงได้ถึงร้อยละ 50 ซึ่งต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดและค่าการสะท้อน (Rebound number) สำหรับคอนกรีตที่มีคาร์บอเนชันสูงเป็นการเฉพาะ

6.7 การสรุปผลการทดสอบและการแปลความผลการทดสอบ

   1.       ให้เฉลี่ยค่าการแระแทกที่ทดสอบได้อย่างน้อย 10 ตำแหน่ง และตัดค่าการกระแทกที่มีค่าต่างจากค่าเฉลี่ยมากว่า 6 และเฉลี่ยค่าที่เหลือใหม่ หากมีค่าตั้งแต่สามค่าขึ้นไปที่ต่างจากค่าเฉลี่ยนเกิน 6 ให้ทดสอบค่าชุดนั้นใหม่
   2.       นำค่าการกระแทกที่ได้เทียบเป็นค่ากำลังอัดของคอนกรีต ตามความสัมพันธ์ที่ได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ

         ข้อแนะนำ หากโครงสร้างที่ทำการวัดมีความแข็งเกร็งน้อย เช่น โครงสร้างที่บากมาก หรือ ไม่มีการยึดกับโครงสร้างข้างเคียงอย่างเพียงพอ การเทียบค่าการกระแทกเป็นค่ากำลังอัดของคอนกรีตมีความคลาดเคลื่อนสูง ในกรณีดังกล่าวผู้ทดสอบสามารถทำได้เพียงเปรียบเทียบความสม่ำเสมอ (uniformity) ของความแข็งแรงของคอนกรีตในกรณีที่มีความแข็งเกร็งใกล้เคียงกันเท่านั้น


6.8 มาตรฐานในการทดสอบ

   1.       ACI 228.2R-98 Nondestructive Test Methods for Evaluation of Concrete in Structures -Reported by ACI committee 228
   2.       BS 1881 - 201: 1986, Testing Concrete. Guide to the Use of Non-Destructive Methods of Test for Hardened Concrete
   3.       ASTM C805-02 Standard Test Method for Rebound Number of Hardened Concrete
   4.       BS EN 12504-2:2001 Testing Concrete in Structures. Non-Destructive Testing. Determination of Rebound Number
   5.       BS 1881 - 202: 1986, Testing Concrete. Recommendations for Surface Hardness Testing by Rebound Hammer

6.9 วิธีการทดสอบ

   1.       อาจารย์กำหนดตำแหน่งที่จะทำการทดสอบกำลังอัด 5 โครงสร้าง ซึ่งครอบคลุมโครงสร้าง เสา คาน พื้น
   2.       ขัดตำหน่งที่จะทดสอบด้วยหินขัดให้เรียบ
   3.       ตีตารางบนตำแหน่งที่ต้องการทดสอบโดยแต่ละช่องห่างกันประมาณ 2.5x2.5 ซม. จำนวน 12 ช่อง
   4.       กด smithch’s hammer ในตารางดังกล่าวด้วยมุมกดแบบเดียวกันจนครบทั้ง 12 ค่าและบันทึกผลในตารางที่ 6.2
   5.       หาค่าเฉลี่ยจากข้อมูลทั้ง 12 ข้อมูล
   6.       ตรวจสอบค่าเฉลี่ยการแรงกระแทกที่ทดสอบ 12 ข้อมูล และตัดค่าการกระแทกที่มีค่าต่างจากค่าเฉลี่ยมากว่า 6 และ เฉลี่ยค่าที่เหลือใหม่ หากมีค่าตั้งแต่สามค่าขึ้นไป      ที่ต่างจากค่าเฉลี่ยนเกิน 6 ให้ทดสอบค่าชุดนั้นใหม่
   7.       อ่านค่าปรับแก้เครื่องมือตามคู่มือทดสอบ (Adjusting coefficient)
   8.       แปลงค่ากระแทกเฉลี่ยที่ปรับแก้แล้วเป็นกำลังอัดของคอนกรีตโดยอ่านจากกราฟ



สรุปผลการทดลอง ………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

วิจารณ์และวิเคราะห์ผลการทดลอง
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….....

วีดีโอสอนการทำทดลอง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น