วันพุธที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2559

การทดลองที่ 10 การทดสอบการรับน้ำหนักของแผ่นพื้นคอนกรีต

การทดสอบการรับน้ำหนักแผ่นพื้นคอนกรีต
ทฤษฎี
ปัจจุบันระบบการก่อสร้างพื้นมักใช้แผ่นพื้นคอนกรีตหล่อสำเร็จ ซึ่งได้มีการผลิตมากจากโรงงานแล้ว นำมาติดตั้งในบริเวณก่อสร้าง เนื่องจาก ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องการตั้งไม้แบบ ประหยัดแรงงานการผูกเหล็ก ประหยัดเวลาการก่อสร้าง อีกทั้งการผลิตในโรงงานซึ่งมีการควบคุมคุณภาพการผลิตมาเป็นอย่างดี ดังนั้นแผ่นพื้นคอนกรีตหล่อสำเร็จจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการก่อสร้างในปัจจุบันนี้ 



10.1 มาตรฐานการผลิตแผ่นพื้นคอนกรีตหล่อสำเร็จ
อย่างไรก็ตามบางครั้งหากไม่มีการควบคุมคุณภาพในการผลิตแผ่นพื้นจากโรงงานที่ดีแล้วอาจประสบปัญหาในการติดตั้ง ความหนาแผ่นไม่เท่ากัน เมื่อนำมาวางแล้วแผ่นหักก่อนที่จะรับน้ำหนัก หรือมีความโก่งตัวมากเกินไป ผิวขรุขระมีฟองอากาศ ดังนั้นจึงควรทำการตรวจสอบมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เสียก่อนใช้งาน และควรทดสอบความสามารถในการรับน้ำหนักของแผ่นพื้นก่อนนำไปใช้งาน
แผ่นพื้นคอนกรีตหล่อสำเร็จโดยทั่วไปมักใช้เป็นระบบคอนกรีตอัดแรงระบบอัดแรงก่อน (Pre tension) โดยการดึงลวดอัดแรงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 มม.ที่ไม่เกิน 75 เปอร์เซ็นต์ของกำลังดึงคราก แล้วเทคอนกรีตที่มีกำลังอัดไม่ต่ำกว่า 400 กก./ตร.ซม. มีค่าการยุบตัว (slump) 0-3 ซม. เมื่อรอให้คอนกรีตได้กำลังประมาณ 280 กก./ตร.ซม. แล้วจึงตัดลวด ปกติจะใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน เนื่องจากใช้คอนกีตที่ผสมน้ำยาเร่งปฏิกิริยาไฮเดรชั่น เพื่อให้สามารถตัดลวดและยกออกจากรางได้เร็ว ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (มอก.) ได้แบ่งแผ่นพื้นคอนกรีตหล่อสำเร็จออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
1.แผ่นคอนกรีตหล่อสำเร็จสำหรับพื้นคอนกรีต (มอก576-2546) พื้นคอนกรีตที่ใช้แผ่นคอนกรีตซึ่งเป็นชิ้นส่สำเร็จชนิดเดี่ยวปูพาดคานเรียงติดต่อกันไป โดยระบบพื้นนี้สามารถรับแรงกระทำทั้งหมดตามที่ออกแบบได้ด้วยตัวเอง แล้วปรับประสานด้วยวัสดุทับหน้า ส่วนใหญ่เป็นภาคตัดขวางกลวง มีขนาดความกว้าง 300, 400, 500, 600, 1,000 และ 1,200 มม. ความยาวอาจได้มากสุดถึง 15.0 ม.
2.ระบบพื้นคอนกรีต (มอก828-2546) เป็นพื้นคอนกรีตที่ใช้ชิ้นส่วนคอนกรีตเสริมเหล็กอัดแรงหล่อสำเร็จประกอบเข้าด้วยกัน แล้วเททับด้วยวัสดุทับหน้าที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เพื่อให้ระบบพื้นมีกำลังเพียงพอตามที่ต้องการ ส่วนใหญ่เป็นภาคตัดขวางตัน มีขนาดระบุได้แก่ 300, 350, 400 และ 500 มม. ความยาวสูงสุดที่สามารถผลิตได้ไม่เกิน 40 เท่าของ ความหนารวมคอนกรีตทับหน้า ยกตัวอย่าเช่น แผ่นพื้นหนา 50 มม. คอนกรีตทับหน้าหนา 50 มม. ความหนารวมเป็น 100 มม. ดังนั้นแผ่นพื้นสามารถผลิตได้มีความยาวสูงสุดไม่เกิน 4.0 ม.
แผ่นพื้นสำเร็จมีการวางพาดจากฐานรองรับหรือคานในทิศทางเดียว คล้ายกับพฤติกรรมของคานอย่างง่าย (simple beam) ทำให้มีการถ่ายแรงลงสู่ฐานรองรับด้านละครึ่งของความยาวแผ่นเช่นเดียวกับแผ่นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กทางเดียว (one way slab) ดังแสดงในรูปที่ 10.1 และทำให้ลักษณะการแอ่นตัวเกิดในทางเดียว ซึ่งหากเป็นแผ่นพื้นระบบคอนกรีตเสริมเหล็กธรรมดาอาจคำนวณการแอ่นตัว ( ) ได้จากสมการ (10-1)




















แต่แผ่นพื้นคอนกรีตหล่อสำเร็จส่วนใหญ่เป็นระบบคอนกรีตอัดแรง มีคอนกรีตเททับหน้า ซึ่งกำลังอัดของคอนกรีตเททับหน้าจะไม่เท่ากับกำลังอัดของพื้นคอนกรีตอัดแรง การออกแบบการรับน้ำหนักจึงคิดเสมือนเป็นวัตถุสองชิ้นประกอบกัน (composite element) การคำนวณการแอ่นตัวจึงไม่ง่ายเหมือนคอนกรีตเสริมเหล็กธรรมดา จะต้องคำนึงถึงผลของลวดอัดแรง ความล้าและการสูญเสียแรงดึงของลวดอัดแรง กำลังอัดคอนกรีตที่ไม่เท่ากันระว่างคอนกรีตเททับหน้าและแผ่นพื้นคอนกรีตหล่อสำเร็จ อย่างไรก็ตามจะไม่กล่าวโดยละเอียดในที่นี้ เนื่องจากสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากรายวิชาการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตอัดแรง


 รูปที่ 10.1 พฤติกรรมการถ่ายแรงของแผ่นพื้นคอนกรีตหล่อสำเร็จ

สำหรับวิศวกรผู้ออกแบบจะเปิดตารางการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยจากผู้ผลิตแผ่นพื้นคอนกรีตหล่อสำเร็จ เช่นตารางที่ 10.1 สำหรับแผ่นพื้นภาคตัดขวางกลวง และ ตารางที่ 10.2 สำหรับภาคตัดขวางตัน และเลือกใช้ให้เหมาะสมกับอาคารที่ได้ออกแบบ สำหรับวิศวกรผู้ควบคุมงานก่อสร้างอาจตรวจสอบแผ่นพื้นคอนกรีตหล่อสำเร็จได้จาก การได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก 576 และ มอก 828) หรือไม่ หรือหากไม่แน่ใจในมาตรฐานการผลิตควรทดสอบการรับน้ำหนักของแผ่นพื้นคอนกรีตหล่อสำเร็จโดยการทดสอบจริงซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

10.3 มาตรฐานการทดสอบ  
มอก 577-2531 วิธีทดสอบการรับน้ำหนักของแผ่นคอนกรีตหล่อสำเร็จและระบบพื้นคอนกรีต
Standard test method for loading capacity of precast concrete slabs and concrete floor systems

ตารางที่ 10.1 ตัวอย่างตารางแสดงความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของแผ่นพื้นภาคตัดขวางกลวง

ตารางที่ 10.2 ตัวอย่างตารางแสดงความสามารถในการรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของแผ่นพื้นภาคตัดขวางตัน


10.4 เครื่องมือ
          เครื่องมือสำหรับการทดสอบประกอบด้วย
           1.อุปกรณ์การกด
(1)    การทดสอบแบบน้ำหนักแผ่สม่ำเสมอ ให้ใช้วัตถุ เช่น ปูนซีเมนต์ ทราย เหล็ก หรืออื่น ๆ วางแผ่ให้น้ำหนักสม่ำเสมอบนพื้นที่ที่จะทดสอบ ดังรูปที่ 10.2
(2)    การทดสอบแบบน้ำหนักลงเป็นจุด ให้ใช้เครื่องกดแบบเฟืองหรือแบบไฮดรอลิก ระยะห่างระหว่างตัวกดทั้งสองให้เท่ากับ 1 ใน 3 ของความยาวประสิทธิผล ตามรูปที่ 3 เครื่องกดต้องสามารถเพิ่มแรงกดได้อย่างสม่ำเสมอ
           2.มาตรความแอ่นตัว (dial gauge) ต้องอ่านได้ละเอียดถึง 0.01 มิลลิเมตร
           3.แท่นธาร ต้องมั่นคงแข็งแรงและอยู่ห่างกับความยาวประสิทธิผลดังรูปที่ 10.2 และ รูปที่ 10.3  


รูปที่ 10.2 การทดสอบแบบน้ำหนักแผ่สม่ำเสมอ

รูปที่ 10.3 การทดสอบแบบน้ำหนักลงเป็นจุด

10.5 การเตรียมตัวอย่าง

        -          แผ่นคอนกรีตหล่อสำเร็จสำหรับพื้นคอนกรีต
1.       ให้ใช้ตัวอย่างจำนวน 3 แผ่น ทดสอบครั้งละ 1 แผ่น
2.       ติดตั้งตัวอย่างบนแท่นธารให้เรียบร้อย ตามรูปที่ 10.2 หรือรูปที่ 10.3
        -         ระบบพื้นคอนกรีต
1.       เตรียมชิ้นส่วนคอนกรีตตัวอย่างประกอบเป็นระบบพื้นให้กว้างไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของความยาวประสิทธิผลและต้องประกอบด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตไม่น้อยกว่า 3 ชิ้น
2.       วิธีประกอบติดตั้งตัวอย่าง ปรับระดับหลังคานหรือแท่นธารให้เรียบร้อย ก่อนจะวางชิ้นส่วนคอนกรีตตัวอย่าง ดังรูปที่ 10.4 และรูปที่ 10.5
3.       วัสดุทับหน้าและเหล็กเสริม ให้วางเหล็กเสริมและเทวัสดุทับหน้า ตามที่กำหนดในแบบก่อสร้าง ก่อนเทวัสดุทับหน้าต้องทำความสะอาดพื้นไม่ให้มีเศษวัสดุแปลกปลอม เช่น ผง ขี้เลื่อย เนื้อวัสดุทับหน้าต้องมีส่วนผสมสม่ำเสมอและควรเทให้ต่อเนื่องกันตลอดทั้งพื้นที่

รูปที่ 10.4 การวางชิ้นส่วนคอนกรีตตัวอย่างบนคานหรือแท่นธาร

รูปที่ 10.5 การวางชิ้นส่วนคอนกรีตตัวอย่างบนคานหรือแท่นธาร

การบ่ม ต้องบ่มวัสดุทับหน้า โดยใช้วิธีใดก็ได้ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 วัน แล้วทดสอบเมื่อวัสดุทับหน้ามีอายุครบ 14 วัน
10.6 วิธีทดสอบ

1.     ติดตั้งมาตรความแอ่นตัวที่กึ่งกลางแผ่นคอนกรีต และที่แท่นธารทั้งสอง เพื่อใช้เปรียบเทียบความแอ่นตัว
2.     เริ่มใส่น้ำหนักบนแผ่นคอนกรีตเป็นช่วงดังนี้ คือ ร้อยละ 25 ร้อยละ 50 ร้อยละ 75 ร้อยละ 100 ร้อยละ 125  และร้อยละ 150 ของน้ำหนักบรรทุกที่กำหนดไว้สำหรับแผ่นคอนกรีตแต่ละชั้นคุณภาพ หลังจากใส่น้ำหนักบรรทุกแต่ละค่าแล้วให้อ่านค่าความแอ่นตัวทันที และหลังจากเวลาผ่านไปแล้ว 15 นาทีให้อ่านค่าความแอ่นตัวอีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงเริ่มเพิ่มน้ำหนักบรรทุกช่วงต่อไป ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนครบช่วงการเพิ่มน้ำหนัก การใส่น้ำหนักบรรทุกต้องค่อย ๆ ใส่ พยายามไม่ให้เกิดการกระแทกกับพื้นที่ทดสอบ และการใส่น้ำหนักต้องให้น้ำหนักแผ่สม่ำเสมอตลอดช่วงด้วย
3.     เมื่อเพิ่มน้ำหนักบรรทุกจนถึงร้อยละ 150 ของน้ำหนักบรรทุกแล้วให้ปล่อยไว้ 24 ชั่วโมง แล้วอ่านค่าความแอ่นตัวอีกครั้งหนึ่ง
4.   เริ่มปลดน้ำหนักบรรทุก โดยปฏิบัติเป็นขั้นตอนย้อนกลับกับตอนใส่น้ำหนักบรรทุกทุกประการ อ่านค่าการคืนตัว (recovery of deflection) อีกครั้งหนึ่ง                     หลังจากปลดน้ำหนักบรรทุกออกหมดแล้ว 24 ชั่วโมง
รูปที่ 10.6 การติดตั้งอุปกรณ์และการวัดค่า


       
10.8 ตารางบันทึกผลการทดสอบ

1 กรณีใส่น้ำหนัก
ความยาวประสิทธิผล (l)………………………………………. มม.               วันที่ทดสอบ……………………………………………………..
ความกว้างแผ่นพื้น……………………………………………….มม.               พื้นที่………………………………………………………ตร.มม.
ความหนาแผ่นรวมคอนกรีตทับหน้า (t)…………………มม.

น้ำหนักบรรทุกจรที่ต้องการ………………………………….กก./ตร.ม.         น้ำหนักที่ใช้วาง/หน่วย…………………………….กก./ถุง



2 กรณีปลดน้ำหนัก
วันที่ทดสอบ……………………………………………………..



10.10 สรุปผลการทดลอง
           ...............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


วีดีโอสอนการทำทดลอง

                    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น