วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

การทดลองที่ 11 การทดสอบแรงดัดของเหล็ก

การทดสอบกำลังดัดของเหล็ก

ทฤษฎี
            การทดสอบแรงดัดเพื่อหาค่าความต้านทานต่อแรงดัดของคานเหล็ก และหาค่าความแข็งแรงในรูปของโมดูลัสของการยืดหยุ่น (modulus of elasticity) เมื่อน้ำหนักกระทำในรูปของน้ำหนักกระทำขวาง ค่าโมดูลัสของการยืดหยุ่น (modulus of elasticity) ที่ได้จากการทดลองสามารถนำไปคำนวณหาระยะแอ่นตัว (deflection) ในช่วงยืดหยุ่นของคานที่ทำจากวัสดุเดียวกัน ถึงแม้จะมีขนาดรูปร่างหรือน้ำหนักบรรทุกที่ต่างไปได้ แต่ก็อาจจะมีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อย


การทดสอบทำได้หลายวิธี ดังแสดงในรูปที่ 11.1 แต่สำหรับปฏิบัติการนี้จะใช้วิธีการทดสอบแบบแรงกระทำบนคาน 2 จุด ที่สมมาตรกัน (symmetrical two-point loading) ซึ่งทำให้โมเมนต์ที่เกิดขึ้นบนช่วงกลางคานมีค่าคงที่ดังแสดงในโมเมนต์ไดอะแกรม





รูปที่ 11.3 ค่าโมดูลัสของหน้าตัด (modulus of section) ของรูปหน้าตัดต่าง ๆ


11.1 กรณีคานที่มีแรงกระทำเป็นจุดที่กึ่งกลางคาน (L/2)
เมื่อความยาวคานเท่ากับ L หน้าตัดคานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างเท่ากับ b และความลึกเท่ากับ d หน่วยแรงดัดสูงสุดที่เกิดการโค้งงอจะเกิดที่ขอบนอกสุดของหน้าตัดและสามารถคำนวณได้ดังนี้
































11.2 กรณีคานที่มีแรงกระทำบนคาน 2 จุดที่สมมาตรกัน (symmetrical two-point loading)

            แบ่งระยะเท่ากันที่ L/3 ความยาวคานเท่ากับ L หน้าตัดคานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างเท่ากับ b และความลึกเท่ากับ d หน่วยแรงดัดสูงสุดที่เกิดการโค้งงอจะเกิดที่ผิวบนสุดของหน้าตัด ซึ่งสามารถคำนวณโมดูลัสการแตกร้าวได้ดังนี้


ในทำนองเดียวกันการแอ่นตัวของคานและโมดูลัสยืดหยุ่นซึ่งมีความสัมพันธ์กันสามารถคำนวณได้ดังต่อไปนี้


11.3 วัตถุประสงค์ของการทดสอบ
            เพื่อศึกษาพฤติกรรมของเหล็กและหาคุณสมบัติต่าง ๆ ของเหล็กภายใต้การรับแรงดัด และเปรียบเทียบความแข็งแรงของเหล็กตัวอย่างที่ทำจากวัสดุชนิดเดียวกันแต่มีรูปร่างแตกต่างกัน

11.4 มาตรฐานอ้างอิง
            ASTM A370-94 Standard test methods and definitions for mechanical testing of steel products

11.5 การเตรียมชิ้นตัวอย่าง
            เหล็กกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 มม. ยาว 50 ซม. จำนวน 1 ตัวอย่าง
          เหล็กแผ่น (steel plate) ขนาด 20x40 มม. ยาว 50 ซม. จำนวน 1 ตัวอย่าง
          เหล็กรูปปีกกว้าง (Wide flange; WF) ขนาด 100x50 มม. ยาว 50 ซม. จำนวน 1 ตัวอย่าง
          หรืออาจใช้เหล็กขนาดหน้าตัดต่าง ๆ ตามที่ห้องทดสอบจัดหามาให้

11.6 เครื่องมือที่ใช้ทดสอบ
              1.เครื่องทดสอบ Universal testing machine
              2.Dial gauge วัดการแอ่นตัว
              3.ไม้บรรทัดเหล็ก
              4.เวอร์เนียร์คาลิเปอร์

11.7 วิธีการทดสอบ
             1.วัดขนาดและชั่งน้ำหนักของตัวอย่างเหล็ก
             2. จัดระยะห่างจุดรองรับของเครื่องทดสอบ วางแท่นทดสอบ และวางตัวอย่างเหล็กบนแท่นทดสอบ ทำเครื่องหมายที่ด้านบนของตัวอย่างเหล็กเพื่อแสดงให้เห็นหลังจากแตกร้าว
             3.ติดตั้ง dial gauge เพื่อวัดการแอ่นตัวที่กลางช่วงคาน ปรับค่าการอ่านเป็นศูนย์
             4.ให้แรงกระทำอย่างช้า ๆ และสม่ำเสมอ อ่านค่าการแอ่นตัวพร้อมกับแรงที่กระทำที่เพิ่มขึ้นครั้งละ 100 กิโลกรัม จนเลยขอบเขตของจุดคราก (yield) ยกเว้น ชิ้นทดสอบ wide flange ให้ทดสอบไม่เกินจุดคราก
             5.บันทึกค่าแรงสูงสุด การแอ่นตัวสูงสุด พร้อมวาดรูปลักษณะการวิบัติ
             6.เขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแรงที่กระทำกับการแอ่นตัว หาค่าแรงครากที่การแอ่นตัวเยื้องไป(offset 0.5 มม.)
             7.คำนวณหาค่าหน่วยแรงดัดที่แรงคราก ค่าโมดูลัสของการแตกร้าว (modulus of rupture)


รูปที่ 11.5 ตัวอย่างกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโหลดกับระยะแอ่นตัว


11.9 ตารางบันทึกผลแรงกระทำกับระยะแอ่นตัว





11.11 สรุปผลการทดลอง



11.12 วิจารณ์และวิเคราะห์ผลการทดลอง

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………........

วีดีโอสอนการทำทดลอง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น